วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560



เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจจึงให้นักศึกษาทำบอร์ดอยู่ในห้อง











วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 
วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

      อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปทรงที่ตนเองชอบ จากนั้นให้ออกไปหยิบไม้และดินน้ำมัน มาทำให้เป็นรูป 3 มิติ แล้วนำรูปของตนเองไปประกอบรวมกับของเพื่อนอีก 1 คน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต ว่าแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร



การนำไปประยุกต์ใช้ 

      เมื่อไปสอนเด็กจะได้รู้ว่าเรชาคณิตแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงได้มีการสังเกต การเปรียบเทียบ รวมทั้งการนับเลข และแทนค่า

การประเมิน



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และใช้ความคิดในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอนในรูปแบบใหม่ ที่ไม่น่าเบื่อ ทำให้เข้าใจง่ายและได้คิดตาม
สภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมดี เครื่องมือต่างๆพร้อมมากขึ้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

      การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1



     

      ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีกระดุมอยู่ 9 เม็ด  จะใช้เกณฑ์ว่ามีกระดุมที่มีสีขาวกับกระดุมที่ไม่มีสีขาวแบบไหนมีเยอะกว่ากัน เด็กจะสังเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่า กระดุมที่มีสีขาวมีจำนวนมากกว่ากระดุมที่ไม่มีสีขาวอยู่จำนวน 3 เม็ด




   

       ยางลบ 3 สร สามารถบอกได้ว่ายางลบสีเขียวมีจำนวนน้อยที่สุด ยางลบสีฟ้ามีจำนวนมากกว่ายางลบสีเขียวแต่น้อยกว่ายางลบสีชมพู ยางลบสีชมพูมีจำนวมากที่สุด





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
      การนำสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ในการสอนได้หลายรูปแบบ แจ่อย่างไรก็ตามต้องนึกถึงตัวเด็กเป็นหลัก รวมถึงต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสอนไปด้วยและตั้งคำถามให้นักศึกษาตอบตลอดเวลา
สภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมดี 




วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560



สื่อคณิตศาสตร์



อุปกรณ์ที่ใช้
                                   
                                    1. กระดาษ A4 สีขาว
                                    2. กระดาษสีตามใจชอบ 
                                    3. ปากกาเมจิก
                                    4. กาว
                                    5. กรรไกร


ขั้นตอนการทำ
          
          1. นำกระดาษสีที่เราชอบมาตัดเป็นรูปมือ มีนิ้วให้ครบ 10 นิ้ว
          2.นำกระดาษสีที่เราตัดเป็นรูปมือมาแปะลงกระดาษ A4
          3.นำปากกาเมจิกมาเขียนเลขตามที่เราต้องการ


ลักษณะของสื่อ

สื่อชิ้นนี้มีลักษณะเป็นกระดาษ ต้องระมัดระวังในการให้เด็กเล่น เพราะอาจจะขาดได้ง่าย แต่อุปกรณ์หาง่าย และทำใหม่ได้ง่าย เป็นสื่อที่พัฒนาเรื่องการใช้นิ้วมือในการนับเลข หรือการบวกลบเลข


การพัฒนา
         
          1.ด้านร่างกาย : เด็กได้ใช้นิ้วมือตามสื่อที่ใช้
          2..ด้านอารมณ์ : เด็กเกิดความสนุกสนานในการเล่น หรือได้สัมผัสกับสื่อด้วยตนเอง
          3. ด้านสังคม : สามารถใช้สื่อในการทำกิจกรรม หรือเล่นร่วมกับเพื่อนๆในห้องได้
          4.สติปัญญา : เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องการนับ การบวกลบเลขอย่างง่ายๆ