วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Approach " ในหลวง " แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
   • ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม โดยได้คำถามที่น่าสนใจคือ " ข้าวสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง "
   • ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์ใหม่ โดยเด็กๆและครูได้ร่วมทำ " ไข่พระอาทิตย์ " กัน
   • ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประเมินผลสะท้อนกลับ
  จากการทำไข่พระอาทิตย์ นอกจากเด้กจะได้เรียนรู้วิธรการทำไข่พระอาทิตย์แล้ว ยังใช้หลักการ STEM เข้ามาช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้

- Science          (วิทยาศาสตร์)
- Technology   (เทคโนโลยี)
- Engineering   (วิศวกรรมศาสตร์)
- Mathematics  (คณิตศาสตร์)



สื่อนวัตกรรมการสอน
   " สื่อที่ไม่พังคือสื่อที่ไม่มีคุณภาพ " ถ้าสื่อชิ้นใดที่เด็กได้เล่นหรือได้จับบ่อยๆ สภาพก็จะขาดชำรุด แต่ถ้าสื่อดูสวยงามอยู่ คือเด็กไม่จับเล่น ไม่น่าสนใจ



แผนการจัดการเรียนรู้
   ในการจัดการเรียนรู้ของรัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่เน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน ครูจะไม่สอนให้เด็กหัดอ่าน หัดเขียน เพราะเด็กจะไม่ได้พัฒนาทักษะ




  การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
   
นำไปเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในอนาคตทั้งวิธรเรียนแบบ Project Approach เรียนรู้สื่อนวัตกรรมที่ไว้เสริมประสบการณ์ให้กับเด็กๆ และการจัดแผนการเรียนรู้

การประเมิน

ประเมินตนเอง : เนื่องจากไม่ได้ไปเรียน จึงได้สอบถามข้อมูลการเรียนการสอนของอาจารย์จากเพื่อนที่ไปเรียน
ประเมินอาจารย์ : มีการสรุปการนำเสนอของรุ่นพี่ให้ฟังอีกครั้งเพื่อความชัดเจน
สภาพแวดล้อม : พี่ปี 5 จัดซุ้มการให้ความรู้ได้เป็นระเบียบ แบ่งแยกชัดเจน



*เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียน จึงนำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี*




วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
- ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติ และ รูปเรขาคณิตสองมิติ 
• ทรงกลม รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
• รูปวงกลมรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
• การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
• การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

สาระที่ 4 : พีชคณิต
   มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 :  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
   มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
   การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์




การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และตอบคำถามในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ และให้ความรู้เพิ่มเติมได้ดี
สภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมโอเค ไม่มีปัญหาเรื่องสื่อการเรียน



วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
- ความรู้ทางกายภาพ 
เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัส
- ความรู้ทางสังคม 
เป็นควาทรู้ที่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
- ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์  
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ จากการสังเกต สำรวจและทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆ เพื่อจัดระบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์
- ความรู้เชิงสัญลักษณ์
เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
   มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
- จำนวน
การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
การเปรียบเทียบจำนวน
การเรียงลำดับจำนวน
- การรวม และ การแยกกลุ่ม
ความหมายของการรวม
การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวม ไม่เกิน 10
ความหมายของการแยก
การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 : การวัด
   มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- ความยาว น้ำหนัก และ ปริมาตร
การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
การเปรียบเทียบปริมาตร / การตวง
- เวลา 
ช่วงเวลาในแต่ละวัน
ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน



เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


1.เพลง ซ้าย-ขวา
             ยืนให้ตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแผละ
           แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ

2.เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า 
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว



การะประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ และอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนครบถ้วน
สภาพแวดล้อม : อุปกรณ์ต่างๆในห้องเรียนยังไม่มีความพร้อม