วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ


ความหมายของคณิตศาสตร์

  
     วิชาว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
   
     คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่อมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิสัยรอบคอบ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
     
     ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

- การนับ
- ตัวเลข
- การจับคู่
- การจัดประเภท
- การเปรียบเทียบ
- การจัดลำดับ
- การวัด 
- เศษส่วน
- เซ็ต
- รูปทรงหรือเนื้อที่
- การทำตามแบบหรือลวดลาย
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ


เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


1.เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน     มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว     มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ     นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

2.เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)

3.เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไจ่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     
     การสอนแบ่งกลุ่ม เช่น แบ่งเด็กที่ตื่นก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 โมงเช้าโดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กได้ออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถช่วยสอนเรื่องเวลา การนับจำนวน เอาเรื่องการอนุรักษ์เข้ามาใช้ นอกจากนี้เด็กยังได้พัฒนาสติปัญญาในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบป้ายชื่อด้วย



การะประเมิน

ประเมินตนเอง : เนื่องจากไม่ได้ไปเรียน จึกได้ความรู้ยังไม่ดีพอเท่าที่ควร แต่ได้สอบถามจากเพื่อนที่ไปเรียน และนำบล๊อคของเพื่อนใชมาอ่านและใช้ในการทำงาน
ประเมินอาจารย์ : อธิบายเนื้อหาชัดเจน 
สภาพแวดล้อม : โปรเจคเตอร์ยังไม่ทำการปรับปรุง



*เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียน จึกนำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี*



วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
1.พัฒนาการสติปัญญากับการทำงานของสมอง
   - กระบวนการซึมซับ
   - ปรับความรู้เดิม
   - เกิดความสมดุล
2.การอนุรักษ์ ( Conservation )
   เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
   - โดยการนับ
   - การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
   - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
   - เรียงลำดับ
   - จัดกลุ่ม

เจอโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาแบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ คือ 
1.ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
2.ขั้นการเรียนรู้จากความคิด 
3.ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม

เลฟ ไวก็อตสกี้
   เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสภาพแวดล้อม และจากความร่วมมือจากเพื่อนรุ่นเดียวกัน เป็นกระบวนการที่ีสนับสนุนและเพิ่มพูนพัฒนาการ ทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


1.ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลอ้งตกลงมา
คงเหลือขวด...ใบวางอยู่บนกำแพง
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จะทำอย่างไรดี ?

2.เท่ากัน-ไม่เท่ากัน
  ช้างมีสี่ขา        ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา              มีสองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา           สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น            ไม่เท่ากันเอย

3.บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ        ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ        ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ         ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  นำทฤษฎีและเพลงต่างๆไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้ 

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน คิดและตอบคำถามอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนดี มีการสอนร้องเพลง อธิบายเนื้อหาเข้าใจ และมีการให้เด็กตอบคำถามตามความเข้าใจ
สภาพแวดล้อม : บรรยากาศในห้องเรียนดี มีโน๊ตบุ๊คทำให้เห็นเนื้อหาการสอนที่ชัดเจน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560


บันทึกการเรียน

- นิยามของการเล่น
 *การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้เกิดการเรียนรู้*
วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างมีอิสระตามความสนใจของตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน
- ความสำคัญของพัฒนาการต่อผู้สอน คือ ทำให้สามารถส่งเสริม ปรับปรุงแก้ไขให้มีพัฒนาการที่เหมาะสม และสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของเพียเจต์
1.อายุแรกเกิด-2 ปี พัฒนาการโดยการใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) เพื่อเก็บข้อมูลส่งไปยังสมอง ก่อให้เกิดการซึมซับ
2.อายุ 2-7 ปี (Preperational Stage) 
   - 2-4 ใช้คำได้เป็รคำสั้นๆ เป็นประโยคสั้นๆ ยังใช้เหตุผลได้ไม่ดี
   - 4-7 มีเหตุผล ใช้คำและประโยคที่ยาวขึ้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง : เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียน ทำให้ยังไม่ได้ความรู้และรายละเอียดที่ชัดเจนมากนัก แต่ได้มีการสอบถามเพื่อนในเนื้อหาการสอนของวันนี้
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้เป็นอย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเปิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาคิดตอบคำถาม
สภาพแวดล้อม : ในช่วงแรกอาจจะยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอรฺ์โน๊ตบุ๊คบ้าง แต่ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี แต่ภายในห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์
       

*เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียน จึงนำข้อมูลมาจาก นางสาวกรรณิการ์ เกษมุติ*


วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560

บันทึกการเรียน



ความรู้ที่ได้รับ

- ได้รู้ความคาดหวังจากรายวิชานี้
- พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
  1.ขั้นตอนของเด็กที่ต้องเรียนรู้ไปทีละขั้น
  2.ความสามารถของเด็กแต่ละวัย
- การประเมิณ
  1.สังเกต
  2.สนทนา
  3.ตรวจผลงาน

การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ ร่วมตอบคำถามภายในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการถามและให้นักศึกษาตอบ เผื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความคิด และอธิบายคำตอบอย่างชัดเจน
สภาพแวดล้อม : บรรยากาศภายในห้องดี ด้านเทคโนโลยียังไม่พร้อม